วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ชนิดของปลาที่นิยเลี้ยง

1. ชนิดปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย สามารถแยกปลาออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ คือ
กลุ่มปลาตะเพียน เช่น ปลาหางไหม้ ปลาทรงเคร อง ปลากาแดง ปลาตะเพียนทอง ปลาบ้า ปลายี่สก ปลาซิวต่างๆ

ปลาหางไหม้
ปลาหางไหม้

ปลาตะเพียนทอง
ปลาตะเพียนทอง

ปลากาแดง
ปลากาแดง

กลุ่ม Catfish (มีหนวด) ได้แก่ ปลากด ปลาแขยง ปลาก้างพระร่วง ปลาเนื้ออ่อน
ปลาก้างพระร่วง
ปลาก้างพระร่วง

ปลาเนื้ออ่อน
ปลาเนื้ออ่อน

ปลาแขยงหิน
ปลาแขยงหิน

กลุ่มที มีอวัยวะช่วยหายใจ ได้แก่ ปลากัด ปลากระดี่ ปลาสลิด ปลาแรด ปลาจูบ ปลากราย ปลาสลาด ปลาตะพัด ปลานำ ผึ้ง ซึ่ง ปลาไทยส่วนใหญ่ (90%) มาจากการเพาะเลี้ยง ที่จับจากธรรมชาติมีเพียง 10% เท่านัน
ปลากัด
ปลากัด

ปลาแรด
ปลาแรด

ปลาหมูอารีย์
ปลาหมูอารีย์

ปลาหมูคอก
ปลาหมูคอก

ปลากราย
ปลากราย

ปลาสลาด
ปลาสลาด

ปลาตะพัด
ปลาตะพัด

ปลาน้ำผึ้ง
ปลาน้ำผึ้ง

2. ชนิดปลาที มีถิ นกำเนิดจากต่างประเทศ
กลุ่มออกลูกเป็นตัว ที่นิยมเลี้ยงได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาเซลฟินมอลลี่ ปลามอลลี่ ปลาเซลฟิน ปลาสอด ปลาแพลตี้ ปลาวาเรียตัส เป็นต้น
ปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูง

ปลาสอด
ปลาสอด

ปลามอลลี่
ปลามอลลี่

กลุ่มที วางไข่ ที่นิยมเลี้ยงได้แก่ ปลาทอง ปลาเทวดา ปลาออสการ์ ปลาหมอสี ปลาปอมปาดัวร์ เป็นต้น ปลาเหล่านี้มาจากการเพาะเลี้ยงทั้งหมด

ปลาปอมปาดัวร์
ปลาปอมปาดัวร์

ปลาเทวดา
ปลาเทวดา

ปลาหมอสี
ปลาหมอสี

ความสัมพันธ์กับมนุษย์

ความสัมพันธ์กับมนุษย์

สัญลักษณ์แทนราศีมีน ซึ่งเป็น 1 ใน 12 จักรราศีทางโหราศาสตร์ที่เป็นรูปหางปลาคู่ผูกเข้าด้วยกัน
ปลาเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ด้วยใช้เนื้อเป็นอาหารหลัก มีหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ มากมาย ที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการจับหรือล่าปลาเป็นอาหาร เช่น อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ในจังหวัดอุบลราชธานี ของประเทศไทย มีภาพเขียนสีที่เป็นรูปปลาบึก[1] [2]
เนื้อปลายังถือได้ว่าเป็นโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ ด้วยอุดมไปด้วยสารอาหารอย่างครบถ้วน เช่น เกลือแร่แคลเซียมฟอสฟอรัส และวิตามินชนิดต่าง ๆ ทั้ง วิตามินดี, วิตามินเอ เป็นต้น อีกทั้งไขมันในเนื้อปลายังถือว่าเป็นไขมันที่ไม่ก่อให้เกิดเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เพราะเป็นกรดไขมันประเภท โอเมกา 3 ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ อีกทั้งยังถือว่าเป็นโปรตีนที่ย่อยได้ง่าย จึงเหมาะมากโดยเฉพาะกับทารกและผู้สูงอายุ[3]
ความที่ปลาผูกพันกับมนุษย์มานาน จนเกิดเป็นประเพณีและความเชื่อในวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ อาทิ ชาวอีสานหรือชาวลาวก่อนจะทำการล่าปลาบึกจะมีการทำพิธีบวงสรวงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์[1] หรือเป็นปกรณัมต่าง ๆ เช่น พระวิษณุที่อวตารเป็นปลากรายทองเพื่อทำการปราบทุกข์เข็ญ ในจักรวาลตามความเชื่อของพุทธศาสนา เชื่อว่าปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเพราะมีปลาใหญ่ที่หนุนโลกอยู่ขยับตัว คือ ปลาอานนท์ ซึ่งความเชื่อนี้คล้ายคลึงกับความเชื่อของชาวญี่ปุ่นที่เชื่อว่ามีปลาดุกขนาดใหญ่ ชื่อ นะมะสุ (鯰) เคลื่อนตัว เป็นต้น[4][5][6]
นอกจากนี้แล้ว ในทางการศึกษา ศาสตร์ที่เกี่ยวกับปลาโดยเฉพาะ จะเรียกว่า มีนวิทยา และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ประเภทนี้ว่า นักมีนวิทยา
ปลายังถือได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่ถูกเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมาอย่างยาวนานแล้ว ตั้งแต่ยุคสุเมเรียน คือ ปลาไนที่เพาะเลี้ยงกันในบ่อ และยังมีการเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินใจด้วย ได้แก่ ปลาสวยงามชนิดต่าง ๆ เช่น ปลากัดปลาทองปลาปอมปาดัวร์ปลาการ์ตูน เป็นต้น

แหล่งทีอยู

แหล่งที่อยู่อาศัย

ปลาเป็นสัตว์ที่ต้องอาศัยอยู่ในน้ำเท่านั้น โดยพบได้ทั้งแหล่งน้ำจืดน้ำกร่อย และน้ำเค็ม แต่พบได้ในภูมิประเทศที่หลากหลายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ลำธารเชิงเทือกเขาหิมาลัยที่สูงกว่า 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล, ในถ้ำที่มืดมิดไร้แสง จนถึงแม่น้ำ หนองบึงต่าง ๆ ทะเลสาบบนปากปล่องภูเขาไฟ จนมาถึงชายฝั่งทะเล ไหล่ทวีปจนถึงใต้ทะเลที่ลึกกว่าหมื่นเมตร แสงไม่อาจส่องไปได้ถึง
ซึ่งปลาจะปรับรูปร่างและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน เช่น ปลาอะโรวาน่า หรือปลาเสือพ่นน้ำ ที่เป็นปลาที่หากินอยู่บริเวณผิวน้ำ ก็จะมีลักษณะปากที่เฉียงขึ้นด้านบนเพื่อถนัดในการจับแมลงเป็นอาหาร ขณะที่ปลากระเบน ซึ่งเป็นปลาหากินบริเวณพื้นน้ำ ก็จะมีปากอยู่บริเวณด้านล่างลำตัวจะมีฟันเป็นแบบแทะเล็ม หรือกลุ่มปลาทูน่า จะมีสีบริเวณหลังเป็นสีคล้ำ แต่ขณะที่ด้านท้องจะเป็นสีจางอ่อน เพื่อใช้สำหรับพรางตาเมื่อมองจากบนผิวน้ำและใต้น้ำให้พ้นจากนักล่า เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของปลา

ลักษณะทั่วไป

ปลาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ มีหลายจำนวนมากมายหลากหลายสายพันธุ์ บางชนิดมีเกล็ดและไม่มีเกล็ด ปลาส่วนมากมีการผสมพันธุ์นอกร่างกาย แต่บางชนิดก็จะมีการผสมพันธุ์ภายในร่างกายของปลาตัวเมีย มีลักษณะลำตัวด้านซ้ายและขวาเท่ากัน สามารถแบ่งกลุ่มทางอนุกรมวิธานของปลาได้เป็นชั้นใหญ่ ๆ ดังนี้
  1. ปลาไม่มีขากรรไกร (Agnatha) แบ่งเป็น แฮคฟิช พบในปัจจุบันประมาณ 65 ชนิด และ ปลาแลมป์เพรย์ พบในปัจจุบันประมาณ 40 ชนิด
  2. ปลากระดูกอ่อน (Cartilaginous fish) ได้แก่ ปลาโรนันปลาฉนากปลากระเบน และปลาฉลาม พบในปัจจุบันประมาณ 400 ชนิด
  3. ปลากระดูกแข็ง (Bony fish) คือปลาอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมด ปลากระดูกแข็งเป็นปลาส่วนใหญ่ของโลก พบในปัจจุบันประมาณ 21,000 ชนิด
  4. ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fish) คือ ปลาที่มีครีบต่าง ๆ เป็นพู่หรือกลีบ ใช้ในการเคลื่อนไหวใต้น้ำเหมือนเดิน ได้แก่ ปลาซีลาแคนท์ปลาปอด เป็นต้น
  5. ปลามีเกราะ (Armoured fish) เป็นปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถือเป็นบรรพบุรุษของปลาทั้งหมด ปัจจุบันสูญพันธุ์หมดแล้ว มีเกล็ดหนาหุ้มตลอดลำตัวเหมือนชุดเกราะ
ปลาเป็นสัตว์น้ำที่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพของดินฟ้าอากาศที่มีความแปรปรวน และแตกต่างกันอย่างมาก ตราบใดที่ในบริเวณนั้นยังคงมีแหล่งน้ำอยู่ เนื่องจากปลาในแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการปรับสภาพของตัวเองให้สามารถมีชีวิตต่อไปได้ เช่น ปลาที่อาศัยในมหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง จึงต้องปรับสภาพร่างกายของตัวเองโดยการสร้างสารความต้านทานของเม็ดเลือด หรือปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง แหล่งน้ำที่จืดสนิทจนถึงแหล่งน้ำที่มีความเค็มค่อนข้างมาก ก็จะปรับสภาพการดำรงชีพที่แตกต่างกันรวมไปถึงวิธีการว่ายน้ำด้วยลักษณะวิธีการที่แตกต่างกัน การปรับตัวและการดิ้นรนเพื่อการดำรงชีพของปลา ทำให้ลักษณะทางสรีรวิทยารวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้น

ปลา

ปลา (อังกฤษFish, กรีก: Ichthys, ละติน: Pisces) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาวโลมาวาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย